Scanner Barcode-สแกนเนอร์เครื่องอ่านบาร์โค้ด
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
SCANNER BARCODE
ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือจับ(Handheld)
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ดตั้งโต๊ะ(Desktop)
3. เครื่องอ่านบาร์โค้ดFix Mount
สแกนเนอร์กับการอ่านบาร์โค้ด
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 1 มิติ(1D)
หากในสินค้า 1 ตัว มีบาร์โค้ดติดอยู่หลายตัว
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 2 มิติ(2D)
สแกนเนอร์
ใช้กับอะไรได้บ้าง?
ใช้กับธุรกิจออนไลน์
ใช้กับร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง
ใช้กับซุปเปอร์มาร์เก็ต
ใช้กับคลังสินค้า
วิธีการเลือกซื้อ
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
เลือกให้เหมาะดีกว่า!
ใช้สแกนเนอร์แล้วดีอย่างไร?
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
สแกนเนอร์-เครื่องอ่านบาร์โค้ด-SCANNER Barcode
-
เครื่องอ่านบาร์โค้ด Honeywell Youjie HF6000.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด GODEX GS2000.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด GODEX GS5000.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ZEBEX Z-3392 BTPlus0.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ZEBEX Z-3272 Series0.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ZEBEX Z-3191 Series0.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ZEBEX Z-3190BT0.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด VERNO 30600.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด VERNO 60230.00 ฿
0.00 ฿ -
เครื่องอ่านบาร์โค้ด VERNO 50820.00 ฿
0.00 ฿
Barcode Scanner
(เครื่องอ่านบาร์โค้ด)
Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจไปยังคอมพิวเตอร์ เหมือนกับการใช้งานแป้นพิมพ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว แม่นยำ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้จากเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะนำไปใช้งานร่วมกับระบบ ช่วยในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน บาร์โค้ด (Barcode) คือสิ่งที่เราสามารถพบได้บ่อยในแถบป้ายราคาและนิตยสาร ถือเป็นวิธีหนึ่งสำหรับผู้ผลิตในการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ บาร์โค้ดมีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่มีการคิดค้นเมื่อช่วงปี 1950 สิ่งนี้ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการเก็บข้อมูลของการทำธุรกิจเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีเครื่องสแกนบาร์โค้ด เจ้าของธุรกิจทุกคนจะสามารถเก็บรวบรวมและส่งออกข้อมูลได้แบบอัตโนมัติและรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องกรอกข้อมูลด้วยตนเอง และสิ่งที่สำคัญก็คือ การใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดเป็นการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการเก็บข้อมูลอีกด้วย
- เครื่องสแกนบาร์โค้ด เป็นเครื่องสแกนแบบออปติคอลที่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่ถูกพิมพ์และ QR code, วิเคราะห์ข้อมูลภาพที่อยู่ภายในบาร์โค้ด และส่งต่อเนื้อหาในบาร์โค้ดไปยังแหล่งข้อมูลแบบดิจิทัล(โดยปกติมักเป็นคอมพิวเตอร์) ในทุกวันนี้คุณจะได้พบกับเครื่องนี้ในร้านค้าปลีก, ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม งานจัดการสต๊อกคลังสินค้าของอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ห้องสมุดในประเทศไทย เครื่องอ่านบาร์โค้ด นับว่าเป็นตัวช่วยในการทำงานที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถอ่านรหัสแท่งที่กำหนดขึ้นในประเทศไทย หรือจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมีราคาไม่สูงมาก จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เจ้าของกิจการจะนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจซื้อขายหน้าร้าน ธุรกิจควบคุมคลังสินค้าหรือธุรกิจจัดเก็บเอกสารก็ล้วนแต่สามารถนำ บาร์โค้ด และเครื่องอ่านมาช่วยในการทำงานได้
ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือจับ(Handheld)
คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ต้องอาศัยมือจับสำหรับการใช้งานสแกนบาร์โค้ดบนสินค้า หรือวัตถุ ซึ่งปัจจุบัน เครื่องลักษณะดังกล่าวนี้ จะมีขาตั้งสำหรับสแกนบาร์โค้ดซึ่งจะทำให้อ่านบาร์โค้ดได้อัตโนมัติเช่นกัน
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ดตั้งโต๊ะ(Desktop)
คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับตั้งบนโต๊ะโดยเฉพาะ มีความไวในการอ่านบาร์โค้ดเมื่อมีบาร์โค้ดผ่านตำแหน่งที่สามารถอ่านได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้มือในการหยิบจับสินค้า ไม่สะดวกที่จะหยิบเครื่องอ่านบาร์โค้ดขึ้นมาอ่าน ส่วนมากใช้งานตามห้างสรรพสินค้าและโรงแรม
3. เครื่องอ่านบาร์โค้ดFix Mount
คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับกำหนดที่ตั้ง โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยบาร์โค้ดจะเคลื่อนที่มายังตำแหน่งระยะอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ทำการกำหนดไว้ เป็นเครื่องอ่านที่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีการเคลื่อนด้วยความเร็ว ส่วนมากจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดดังกล่าว ใช้งานกับโรงงานสายพานการผลิต เพื่อคัดแยกสินค้า หรือวัตถุจากสายพานลำเรียง
สแกนเนอร์กับการอ่านบาร์โค้ด
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 1 มิติ(1D) :
หัวอ่านแบบ 1 มิติ ข้อดีคืออ่านบาร์โค้ดได้เร็ว และสามารถระบุชัดเจนว่าอ่านบาร์โค้ดตัวไหน หากในสินค้า 1 ตัว มีบาร์โค้ดติดอยู่หลายตัว ข้อเสีย คืออ่านบาร์โค้ด 2 มิติ(2D) ไม่ได้ และแสงเครื่องอ่าน ต้องอยู่บาร์โค้ดทุกเส้นทั้งหมด จึงจะสามารถอ่านได้ ตามตัวอย่าง
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 2 มิติ(2D) :
หัวอ่านแบบ 2 มิติ มีข้อดีคือ สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ด 1 มิติและ2 มิติ และสามารถบาร์โค้ดได้ง่าย ขอเพียงบาร์โค้ดอยู่กรอบแสงของหัวอ่าน และอ่านบาร์โค้ดหลายตัวพร้อมกันได้ภายในการอ่านครั้งเดียว แต่ บาร์โค้ดที่อ่านต้องอยู่ภายในกรอบแสงทั้งหมด ข้อเสียคือ อ่านบาร์โค้ดได้ช้ากว่า และหากมีบาร์โค้ดหลายตัวในสินค้าตัวเดียว จะมีปัญหาเรื่องการ อ่าน บาร์โค้ดเฉพาะตัวที่ต้องการและราคาเครื่องอ่าน 2D สูงกว่าเครื่องอ่าน 1 มิติ
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามประเภท การเชื่อมต่อ 2 ประเภท
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมีสาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host ตัวอย่าง สายสัญญาณ เช่น USB PS2 Serial Parallel or สายสัญญาณเฉพาะสำหรับเครื่องจักร เช่น RS485
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไร้สาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสัญญาณคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host เช่น Bluetooth ซึ่งระยะสัญญาณจะขึ้นอยู่กับ ความแรงสัญญาณ Bluetooth, สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มีสัญญาณรบกวน สิ่งกีดขวาง รวมถึงความเหมาะสมของตำแหน่ง หรือลักษณะการวางของตัวส่ง และตัวรับอย่างเหมาะสม
ประเภทของหัวอ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ CCD, Laser, Omni-Directional และ Imager
1. CCD Scanner จะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน ลำแสงมีความหนา มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และความสามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีความละเอียดของแท่งบาร์โค้ดมากได้ลำบาก
2. Laser Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด
3. Omni-directional Scanner เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
4. Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย
ขั้นตอนในการทำงานของ
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบ่งได้ดังนี้
1. ตัวอ่านอินฟาเรด เป็นเครื่องที่ใช้อ่านรหัสแท่ง โดยจะยิงแสงอินฟาเรดออกไปที่รหัสแท่ง ซึ่งแถบสีบนรหัสจะสะท้องกลับมาให้เครื่องสามารถอ่านออกมาได้ว่ารหัสแท่งนั้นๆ คือ รหัสของสินค้าใด จำนวนในการอ่านก็จะบอกให้เครื่องทราบได้ว่ามีจำนวนสินค้าอยู่ทั้งหมดกี่ชิ้น โดยตัวอ่านอินฟาเรดนี้จะต้องมีสายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งโปรแกรมเอาไว้
2. โปรแกรมอ่านบาร์โค้ด โปรแกรมนี้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่าย หรือหาโหลดได้ตามอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมนี้จะต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลรหัสแท่งของไทย รวมถึงรหัสแท่งที่กำหนดในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้มีข้อมูลที่เป็นสากลและสามารถแปลงข้อมูลจากรหัสแท่งได้อย่างแม่นยำ สามารถทราบชนิดสินค้าชนิดนั้นได้ทันทีที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำงาน
3. Software ในการจัดเก็บข้อมูลนอกจากข้อมูลของรหัสแท่งที่เครื่องอ่านจะต้องมีแล้ว Software ในการจัดเก็บข้อมูลยังนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องอ่าน เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวเข้าออกของสินค้าที่เครื่องอ่านได้ ทั้งชนิดและจำนวนของสินค้านั้น ๆ นั่นเอง
4. อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ลิ้นชักเก็บเงินสดใช้ในกรณีเครื่องอ่านใช้งานคู่กับเครื่องจ่ายเงิน เมื่ออ่านและแปลงข้อมูลออกมาเป็นจำนวนและราคาสินค้าแล้ว ลิ้นชักก็จะทำงาน ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ นับเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ดให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นได้นั่นเอง
ดังจะเห็นได้ว่าหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ดนั่นไม่มีความยุ่งยากเลย เพียงอ่านข้อมูลรหัสแท่งด้วยเครื่องยิงแสงอินฟาเรด แล้วจึงแปลงข้อมูลของรหัสแท่งออกมาเป็นชนิดและจำนวนสินค้า ด้วยโปรแกรมในการอ่านรหัสแท่ง ข้อมูลต่าง ๆ ที่เครื่องทำงานจะถูกจัดเก็บใน Software ซึ่งอยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเก็บเงิน ซึ่งในกรณีของเครื่องเก็บเงิน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องอ่านก็จะไปสั่งงานอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ อย่างลิ้นชักเก็บเงินสดให้ทำงาน จะเห็นได้ว่าเครื่องอ่านนี้ นับว่าเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความสะดวกรวดเร็ว ใช้งานง่ายและราคาไม่สูงมาก และยังใช้งานได้กับธุรกิจหลากหลายประเภทอีกด้วย
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
ใช้งานกับอะไรได้บ้าง?
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น ร้านค้าทั่วไป ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟเบเกอรี่ ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง สำนักงาน การจัดการสต็อกสินค้า เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมปกติ
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น โรงงานต่างๆ เหมาะสำหรับใช้งานหนักต้องการความทนทานการทำงานของตัวเครื่องสูง
3. เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มงานเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาล อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องความวัตถุไวไฟ และระเบิด ซึ่งจะมี เครื่องอ่านบาร์โค้ดเฉพาะ สำหรับทนต่อสารเคมีและป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟ
วิธีการเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
1. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดตามสภาพแวดล้อม หรือ สถานที่ในการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ควรมีความทนทานเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
2. เลือกหัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่เราต้องการอ่าน 1D or 2D อย่างที่ได้กล่าวเบื้องต้น เกี่ยวข้อดี และข้อเสียระหว่างหัวอ่าน 1D และ 2D
3. เลือกหัวอ่านเฉพาะให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่ต้องการใช้งาน เช่น เป็นบาร์โค้ดขนาดทั่วไป ขนาดเล็ก หรือเป็นบาร์โค้ดที่ฝังลงไปในวัตถุ เพื่อให้ง่าย และรวดเร็วในการใช้งาน
4. เลือกการเชื่อมต่อให้เหมาะสมการใช้งาน
- อันดับแรก เลือกแบบมีสาย หรือ ไร้สาย โดยดูจากลักษณะการทำงานจริง ว่าแบบไหนเหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด
- อันดับสอง เลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Host หรือ Software ที่ใช้งานอยู่อย่างเหมาะสม เช่น คอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนบ้าง แบบไหนเหมาะสมในการเชื่อมต่อ หรือ Software รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนได้บ้าง
5. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะกับวิธีการใช้งานของเรา เช่น แบบมือจับ ตั้งโต๊ะ หรือ Fix-mount
6. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยดูที่ราคา ยี่ห้อ ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือ งบประมาณที่มีอยู่
7. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด จากผู้ขายที่มีความรู้และประสบการณ์ ที่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของเรา ไม่ใช่เลือกแค่เพียงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในปัจจุบันมีหลากหลาย
8. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดจากบริษัทที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งาน และบริการหลังการขาย
ข้อมูลเฉพาะที่ควรทราบเกี่ยวกับเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Scanner Barcode)
- ขนาดของตัวบาร์โค้ด เราจะเรียกว่า มิล(mil) : 1 มิล= 0.0254 มิลลิเมตร
- ขนาดของตัวบาร์โค้ดที่เรียกว่า "มิล" เราจะวัดช่องว่างระยะห่าง ของแท่งบาร์โค้ดที่เล็กมากที่สุด ไม่ได้หมายถึงขนาดของตัวบาร์โค้ดทั้งหมด ซึ่งค่า มิล ของบาร์โค้ด เท่ากับ ขนาดของบาร์โค้ดทั้งหมด + ข้อมูล